ภาคใต้

ประเพณีถือศีลกินเจ

6
ความสำคัญ
การถือศีลกินเจของชาวตรังตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน   ( ตรงกับเดือน ๑๑ ของไทย ช่วงเดือนกันยายน -ตุลาคมทุกปี) โรงศาลเจ้าทุกโรงจะกำหนดการกินเจพร้อมกัน การประกอบพิธีกรรมจะใช้สถานที่บริเวณโรงศาลเจ้าของแต่ละแห่ง
        ความสำคัญในการบำเพ็ญศีล สมาทานกินเจ บริโภคแต่อาหารผักและผลไม้ เป็นการละเว้นการทำบาป ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รักษาศีลทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และเป็นการสะเดาะเคราะห์ปัดเป่าความชั่วร้าย 

ประเพณีอาบน้ำคนแก่

7
 ความสำคัญ
                ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๕ เดือนเมษายน ( เดือน ๕ ) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้า หรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวันเวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม  เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือ แก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกูล รวมทั้งผู้มีพระคุณ และบุคคลที่ตนเคารพนับถือ

 

ประเพณีสารทเดือนสิบ

8

 ความสำคัญ
                มีพื้นฐานมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่า ในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ พญายมจะปล่อย “เปรต” จากนรกภูมิให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์ และให้กลับขึ้นสู่นรกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ โอกาสนี้ ชาวบ้านจึงจัดให้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว  งานบุญนี้ถือว่า  เป็นงานสำคัญวันหนึ่งวงศ์ตระกูล ในอันที่จะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาจิตต่อบรรพชน เป็นงานรวมญาติ แสดงถึงความสามัคคี

 

ประเพณีแห่นก

9

ความสำคัญ
                เป็นประเพณีนิยมที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา แต่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริง   เป็นการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในศิลปะและอาจจัดขึ้นในการแสดงความจงรักภักดี แก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือในโอกาสต้อนรับแขกเมือง บางทีอาจจัดขึ้นเพื่อความรื่นเริงในพิธีการเข้าสุนัต หรือที่เรียกว่า “มาโซยาวี”   นกที่นิยมทำขึ้นเพื่อการแห่มีเพียง ๔ ตัว คือ นกกาเฆาะซูรอ หรือนกกากะสุระ , นกกรุดา หรือนกครุฑ , นกบือเฆาะมาศ หรือนกยูงทอง , นกบุหรงซีงอ หรือนกสิงห์

ประเพณีลากพระ

10

ความสำคัญ
                วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา  คือ   วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด   เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้า ประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน

Leave a comment